เมนู

เปรียบประการนี้ ยถา มีครุวนาฉันใดก็ดี พระโยคาวจรเจ้า เมื่อแรกแสวงพระนิพพานนี้ ลำ
บากเจือไปด้วยทุกข์ครั้งได้พระนิพพานแล้วก็แผ้วทุกข์มีแต่สุขมีอุปไมยเหมือนศิษย์เรียนวิชากระนั้น
ลำบากแต่เดิม ครั้นได้เรียนวิชาศิลปศาสตร์สำเร็จแล้ว แผ้วทุกข์มีแต่ความสุขฉันนั้น
บพิตรจงทราบในพระบวรราชสันดานในกาลบัดนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นธรณีก็สิ้นสงสัย สาธุการว่า สาธุ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสน พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนานี้ควรแล้ว สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับคำจำไว้ ณ กาลบัดนี้
นิพพานัสส อทุกขมิสสภาวปัญหา คำรบ 4 จบเพียงนี้

นิพพานปัญหา ที่ 5


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา อุปทสฺเสตุํ ถ้าพระผู้เป็นเจ้าอาจแสดงให้โลกทั้งปวงเห็นแจ้งซึ่งพระนิพพาน
รูเปน วา โดยรูปก็ดี สณฺฐาเนน วา โดยสัณฐานก็ดี อวยเวน วา โดยอวัยวะใหญ่ก็ดี ปมาเณน วา
โดยประมาณก็ดี อุปเมน วา โดยอุปมาก็ดี การเณน วา โดยเหตุก็ดี เหตุนา วา โดยปัจจัยก็ดี
นเยน วา โดยนัยก็ดี จงเปรียบจงอุปมาซึ่งพระนิพพานให้เห็นแจ้งในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
นิพฺพานํ น สกฺกา อาตมามิอาจจะแสดงพระนิพพานให้เห็น โดยรูปสัณฐานอวัยวะและประมาณ
และอุปมาเหตุปัจจัยและนัยได้ เหตุว่าพระนิพพานไม่มีตัวไม่มีเหตุปัจจัย
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชาโยมยังไม่รับวาจาของผู้เป็นเจ้า ที่พระผู้เป็นเจ้าว่า พระนิพพานไม่มีเนื้อไม่มีตัว
ไม่มีเหตุปัจจัยนั้นเป็นเหตุประการใด นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ถ้ากระนั้นมหาบพิตรจงรู้โดยเหตุอันนี้ มหาราช ดูรานะ
บพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ คำโลกเรียกว่ามหาสมุทรนั้น มหาสมุทรมีจริงหรือพระ
ราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา มหาสมุทรมีจริง

พระนาคเสนจึงมีวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สเจ ถ้าแลเขาจะถามว่า
มหาสมุทรนั้นกว้างขวางโตใหญ่ยาวรีเท่าไร อุทกังและปลามากน้อยเท่าไรให้ว่ามา เอวํ ปุฏฺโฐ
เมื่อเขาถามดังนี้ มหาบพิตรจะแก้ไขได้หรือไม่ได้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา เมื่อเขาถามดังนั้น โยมก็จะห้ามว่า อมฺโภ ปุริส ดูรานะบุรุษผู้เจริญ
ท่านอย่าได้ถาม ปัญหานี้เป็นฐปนียปัญหาไม่ควรถาม คือใครจะประมาณพระมหาสมุทรได้
ใครจะประมาณน้ำในมหาสมุทรและปลาในมหาสมุทรไว้ว่าเท่านั้นเท่านี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร มหา
สมุทรนี้มีในธรรม สมเด็จพระสัพพัญญูบรมครูเจ้า ตรัสพระสัทธรรมเทศนาไว้ ไฉนมหาบพิตร
จึงไม่แก้ปัญหาซึ่งเขาถามนั้นเล่า ควรที่พระองค์จะแก้ไขโดยแท้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า โยมมิอาจจะแก้ปัญหาชี้ว่า
มหาสมุทรกว้างใหญ่ และอุทกังในมหาสมุทรและปลาใหญ่น้อยว่า ร้อยหรือพันหรือแสนได้
ปัญหานี้สุดวิสัยที่โยมจะวิสัชนา
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า ความนี้ฉันใด มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร พระนิพพานนี้มีในพระสัทธรรมเทศนา สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าโปรดไว้ก็จริง แต่อาตมา
มิอาจวิสัชนาว่าได้โดยรูปสัณฐาน ประมาณว่าน้อยใหญ่และอุปมาเปรียบเทียบ ว่าเหตุว่าปัจจัยได้
ก็สุดวิสัยที่จะแก้ไข มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ถึงว่าท่านผู้มีฤทธิ์
ฌานวสี ชำนาญฌานก็ดี มีสติปัญญาอาจสามารถจะประมาณอุทกังและปลาในมหาสมุทรได้
ท่านผู้นั้นก็อาจสำแดงพระนิพพาน ว่าพระนิพพานมีรูปทรงสัณฐานเท่านั้นเท่านี้ได้ อนึ่งเล่า
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร พระองค์ทรงทราบพระญาณอยู่บ้างหรือว่า
เทวดาผู้หนึ่ง ชื่อว่าอรูปกายิกาเทวดา
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสน โยมได้ยินอยู่
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า ถ้าฉะนั้น มหาบพิตรจงว่าให้เห็นโดยรูป โดยสัณฐาน โดย
ประมาณ โดยอุปมา และว่าโดยเหตุโดยปัจจัยจะได้หรือไม่ได้เล่า บพิตร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา เทวดานั้นไม่มีตัว โยมจะเอาอะไรมาว่าได้

พระนาคเสนมีเถราวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร มหาบพิตร
ชี้ตัวอรูปกายิกาเทวดาไม่ได้ กระนั้น อรูปกายิกาเทวดานั้นหามีไม่ นั้นซิพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา อรูปกายิกาเทวดานั้นมีอยู่ แต่ทว่าไม่มีเนื้อไม่มีตัว โยมจึงมิอาจว่าได้โดย
รูปสัณฐานประมาณเหตุปัจจัย
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า ฉันใดก็ดี มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
พระนิพพานนี้ ก็ไม่มีเนื้อไม่มีตัวเหมือนกันกับอรูปายิกาเทวดา สุดที่จะวิสัชนาได้ แต่พระ
นิพพานมีอยู่จริง นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ผู้เป็นเจ้าสำแดงรูปและสัณฐานประมาณและอุปมาเหตุปัจจัยแห่งพระ
นิพพานไม่ได้แล้ว นิมนต์วิสัชนาแต่คุณพระนิพพานโดยเอกเทศให้โยมฟังหน่อยเถิด บัดนี้ดวง
หฤทัยโยมนี้ร้อนไป ดุจกองเพลิงอันใหญ่ ลมพายุพัดไหม้ไปฉันใดก็ดี ดวงหฤทัยโยมนี้ร้อนนักหนา
ด้วยปรารถนาจะสวนาการฟังซึ่งคุณแห่งพระนิพพาน ก็หาได้ฟังไม่ โยมจึงมีหฤทัยร้อนนักหนา
ในกาลบัดนี้
พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าคุณ
แห่งปทุกชาติประการ 1 ก็เปรียบเข้ากับคุณแห่งพระนิพพาน อันว่าคุณแห่งอุทกวารีมี 2 ประการ
ก็เปรียบเข้ากับคุณแห่งพระนิพพาน อคฺคทสฺส ตโย คุณา อันว่าคุณแห่งยาดับพิษงูมี 3 ประการ
แล้วคุณแห่งมหาสมุทรมี 4 ประการ คุณแห่งโภชนะมี 5 ประการ คุณแห่งอากาศมี 10 ประการ
คุณแห่งแก้วมณีมี 3 ประการ คุณแห่งจันทน์แดงมี 2 ประการ คุณแห่งสัปปิข้นมี 3 ประการ
คุณแห่งยอดเขามี 5 ประการ อิเม คุณา อันว่าคุณทั้งปวงนี้ควรจะเปรียบเข้าในคุณแห่งพระ
นิพพานทั้งสิ้นทั้งนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณแห่งปทุมชาติอันหนึ่งนั้นประการใด จึงเปรียบเทียบกับ
คุณพระนิพพานได้
พระนาคเสนจึงแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าคุณ
แห่งปทุมชาตินั้น อุทกังจะได้แทรกซึมติดเข้าหามิได้ฉันใดก็ดี พระนิพพานจะได้มีกิเลส
ข้องซาบซึมอยู่หามิได้ดุจดอกปทุมชาตินั้น



สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าอุทกังมีคุณ 2 ประการนั้นอย่างไร
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่า
อุทกังนั้นเย็นจะดับเสียซึ่งความร้อนกระวนกระวายนั้นฉันใด พระนิพพานนั้นก็ดับเสียซึ่งกิเลส
เหมือนอุทกังนั้น ประการหนึ่ง อุทกังนั้น สีตลํ เย็นเป็นที่ล้างเสียซึ่งมลทิน ห้ามเสียซึ่งความ
กระหายน้ำฉันใดก็ดี พระนิพพานล้างเสียซึ่งมลทินคือกิเลส ห้ามเสียซึ่งความปรารถนาที่จะอยู่
ในภพทั้ง 3 คือกามภพ รูปภพ อรูปภพ ดุจอุทกังอันล้างซึ่งมลทิน ห้ามเสียซึ่งความอยากน้ำ
ฉันนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณแห่งยาดับพิษงู 3 ประการนั้นอย่างไร
พระนาคเสนจึงแก้ไขว่า คุณแห่งยาดับพิษงู 3 ประการนั้น คือเมื่ออสรพิษขบคนเข้า
จึงเอายาดับพิษกินเข้าไปให้หายพิษ เป็นที่พึ่งได้ประการหนึ่ง ฉันใดก็ดี พระนิพพานนี้เป็นที่พึ่ง
แก่สัตว์ทั้งหลาย อันกิเลสเบียดเบียน ก็ดับให้กิเลสสูญหายเหมือนยาดับพิษงูนั้น จัดเป็นคุณ
ยางูเป็นปฐม ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า อันว่ายาดับพิษงูนั้น กระทำให้สัตว์ทั้งหลายอันงู
ขบกัดให้หายคลายโรคสิ้นสุดฉันใด พระนิพพานก็กระทำให้สิ้นสุดทุกข์แห่งสัตว์ทั้งหลาย ดุจ
ยางูดับพิษให้สิ้นสุดนั้น จัดเป็นคุณแห่งยางูประการที่ 2 ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อคฺคกํ อันว่ายาดับพิษงูนั้นรักษาซึ่งสัตว์
ทั้งหลาย อันงูร้ายขบไว้ไม่ให้ตายด้วยพิษงูได้ ยถา มีครุวนาฉันใด เอวํ นิพฺพาน อมตํ พระ
นิพพานนั้น อันงูร้ายขบไว้ไม่ให้ตายด้วยพิษงูได้ ยถา มีครุวนาฉันใด เอวํ นิพฺพานํ อมตํ พระ
นิพพานนั้น ก็รักษาซึ่งบุคคลอันได้พระนิพพานไว้มิให้ตาย ดุจยางูนั้น สิริเป็นคุณยางู 3 ประการ
ยุติเท่านี้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณแห่งมหาสมุทรมี 4 ประการนั้นประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าคุณ
แห่งมหาสมุทรเป็นปฐมนั้นคือมหาสมุทรบริสุทธิ์จะได้ซากศพล่องลอยอยู่หามิได้ ยถา มีครุ
วนาฉันใดพระนิพพานก็บริสุทธิ์ผ่องใสไม่มีกิเลศติดอยู่เหมือนมหาสมุทรอันบริสุทธิ์จากซากศพนั้น
จัดเป็นคุณแห่งมหาสมุทรเป็นปฐม ปุน จ ปรํ อีกประกาหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระ
พรบพิตรพระราชสมภาร มหาสมุทรนั้นใหญ่นักหนา ถึงมาตรว่าคงคาห้าห้วงจะไหลล่วงลงมา
สักเท่าใด ๆ ก็ไม่เต็ม มีฝั่งฟากโพ้นมิก็ได้เห็นปรากฏแก่นัยน์ตา ยถา มีครุวนาฉันใน อันว่าพระ

นิพพานนี้ มหนฺตํ กว้างใหญ่ อโนปารํ จะได้มีฝั่งฟากโพ้นเห็ปรากฏาหามิได้ ถึงฝูงสัตว์จะไป
อยู่ในพระนิพพานศิวาลัยสักเท่าใด น ปูเรติ ก็มิได้รู้เต็มดุจมหาสมุทรอันใหญ่นั้น อยํ คุโณ
อันว่าคุณแห่งมหาสมุทรนี้ ทุติโย เป็นคำรบ 2 ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อยํ มหาสมุทฺโท อันว่ามหาสมุทรอันใหญ่นี้ อาวาโส เป็น
ที่อยู่ มหนฺตานํ แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นอันมาก ยถา มีครุวนาฉันใด นิพฺพานํ อันว่าพระนิพพาน
อาวาโส เป็นที่อยู่สุขสำราญ ขีณาสวานํ แห่งพระขีณาสพเจ้าทั้งหลายอันมีวสี เอวํ เมาะ ตถา
มีอุปไมยเหมือนดังนั้น อยํ คุโณ อันว่าคุณแห่งมหาสมุทรนี้ ตติโย เป็นคำรบ 3 ปุน จ ปรํ
อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร มหาสมุทฺโท อันว่ามหา
สมุทรอันใหญ่ ย่อมจานเจือไปด้วยชาติบุปผาลดาดอกไม้ มีกลิ่นหอมบริสุทธิ์มีประกอบเป็น
เอนกนานา ยถา มีครุวนาฉันใด นิพฺพานํ อันว่าพระนิพพาน ก็เจือไปด้วยดอกไม้มีเสาวคนธ-
ชาติอันหอมบริสุทธิ์ กล่าวคือพระวิมุตติธรรมอันไพบูลย์บริสุทธิ์มีประการต่าง ๆ ทรงพระบวร-
คุณจะนับมิได้ เอวํ เมาะ ตถา มีอุปไมยดุจพระมหาสมุทร อันเจือไปด้วยสุมาลัยอันบริสุทธิ์นั้น
อยํ คุโณ อันว่าคุณแห่งพระมหาสมุทรนี้ จตุตฺโถ เป็นคำรบ 4 เปรียบด้วยคุณแห่งพระนิพพาน
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณแห่งโภชนาหารมีอยู่ 5 ประการนั้น ฉันใดเล่า
พระนาคเสนเจ้าจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่า
คุณแห่งโภชนาหาร 5 ประการนั้น อายุวฑฺฒนํ คือเลี้ยงไว้ซึ่งอายุสัตว์ให้วัฒนาการจำเริญไป
ประการ 1 พลวฑฺฒนํ คือให้จำเริญกำลังแรงแห่งสัตว์ทั้งหลายประการ 1 วณฺณชนนํ คือให้เกิด
สีสันพรรณาการ 1 ทรถวูปสมนํ คือดับเสียซึ่งความกระวนกระวายประการ 1 ชิฆจฺฉา
ทุพฺพลปฏิวิโนทนํ คือบรรเทาเสียซึ่งความอยากข้าวประการ 1 สิริเป็นคุณ 5 ประการด้วยกัน
ยถา มีครุวนาฉันใดก็ดี อันว่าพระนิพพานนี้ สัตว์จำพวกใดกระทำให้แจ้ง ก็ทรงสัตว์นั้นเลี้ยง
สัตว์นั้นไว้มิให้ฉิบหายด้วยชราและมรณะ คือไม่ให้แก่ไม่ให้ตายนั้นประการ 1 อิทฺธิพลวฑฺฒนํ
จะให้จำเริญฤทธิพละประการ 1 สีสวณฺณชนนํ เพื่อจะให้เกิดวรรณะ กล่าวคือศีลประการ 1
สพฺพกิเลสทรถวูปสมนํ คือจะระงับดับเสียซึ่งกระวนกระวาย คือ กิเลสทั้งหลายประการ 1 จะ
วนาดุจโภชนาหารอันมีคุณ 5 ประการนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณอากาศ 10 ประการนั้น คือประการใดบ้าง

พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อัน
ว่าคุณอากาศ 10 ประการนั้น น ชียติ คือไม่รู้แก่ประการ 1 น มียติ คือไม่รู้ตายประการ 1
น จวติ ไม่รู้จุติประการ 1 น อุปฺปชฺชติ มิได้เวียนเกิดอีกประการ 1 อุปฺปสยฺหํ หาผู้จะข่ม
เหงมิได้ประการ 1 อโจรคหณียํ หาโจรจะฉกลักช่วงชิงมิได้ประการ 1 อนิสฺสิตํ ไม่มีที่อาศัย
ประการ 1 วิหงฺคคมนํ จะไปได้แต่นกและคนมีฤทธิ์ และเทวดาและยักษ์มีฤทธิ์ประการ 1
นิราวรณํ หาสิ่งจะกั้นมิได้ประการ 1 อนนฺตํ กว้างยาวหาที่สุดมิได้ประการ 1 สิริเป็นคุณ 10
นี้ ยถา ครุวนาฉันใด นิพฺพานํ อันว่าพระนิพพานนี้ ก็ประกอบด้วยคุณ 10 ประการ
น ชียติ คือไม่รู้ประการ 1 น มีนติ ไม่รู้ตายประการ 1 น จวติ ไม่รู้จุติประการ 1
อุปฺปชฺชติ
มิได้เวียนเกิดประการ 1 อปฺปสยฺยํ หาผู้จะข่มเหงมิได้ประการ 1 อโจรคหณียํ หา
โจรจะปล้นชิงฉกลักมิได้ประการ 1 อนิสฺสิตํ หากิเลสอาศัยมิได้ประการ 1 อริยคมนํ เป็นที่ไป
แห่งพระอริยเจ้าประการ 1 นิราวรณํ หาสิ่งจะกั้นมิได้ประการ 1 อนนฺตํ หาที่สุดมิได้ประการ
1 เปรียบเหมือนอากาศฉะนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณแห่งมณีรัตนะ 3 ประการนั้นดังฤาเล่า
พระนาคเสนวิสุทธิอรหันต์เจ้าวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช-
สมภาร มณีรตนํ อันว่าคุณแห่งแก้วมณี 3 ประการนั้นหรือ คือแก้วมณีให้สำเร็จความปรารถนา
ประการ 1 คือกระทำให้ยินดีประการ 1 คือกระทำให้ปลื้มใจสว่างใจประการ 1 สิริเป็นคุณ 3
ประการฉะนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด อันว่าพระนิพพานนี้ ก็ให้สำเร็จความปรารถนาประการ 1
กระทำให้ชื่นใจประการ 1 อุโชติตุฏฺฐกรณํ กระทำให้ปลื้มใจรุ่งเรืองขึ้นประการ 1 มีอุปไมย
เหมือนดังแก้วมณีนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณจันทน์แดง 3 ประการนั้นอย่างไรเล่า
พระนาคเสนเจ้าจึงแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
โลหิตจนฺทนํ ชื่อว่าจันทน์แดงมีคุณ 3 ประการนั้นคือ ทุลฺลภํ หาได้เป็นอันยาก ประการ 1
อสมํ สุคนํ มีกลิ่นหอมหาที่จะเปรียบมิได้ประการ 1 สพฺพชนปสฏฺฐํ อันคนทั้งสิ้นหาก
สรรเสริญประการ 1 สิริเป็นคุณจันทร์แดง 3 ประการเท่านี ยถา มีครุวนาฉันใด พระนิพพาน
นี้ไซร้ ทุลฺลภตรํ กว่าจะได้นี้ยากนักประการ 1 อสมํ สุคนฺธํ มีกลิ่นหอมหาที่จะเปรียบมิได้
ประการ 1 อริยปสฏฺฐํ เป็นที่พระอริยเจ้าสรรเสริญประการ 1 สิริเป็นคุณ 3 ประการเหมือน
หนึ่งจันทน์แดงนั้น ขอถวายพระพร

สมเด็จพระเจ้ามิลินทภูมิทราธิบดีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณสัปปิข้น 3 ประการนั้นอย่างไร คือประการใดบ้าง
พระนาคเสนแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อันว่าคุณ 3
ประการแห่งสัปปิข้นนั้นหรือคือ สัปปิข้นมีสีอันงามประการ 1 มีรสอันเลิศประการ 1 ประกอบ
ด้วยกลิ่นเสาวคนธ์อันหอมประการ 1 สิริคุณสัปปิข้น 3 ประการเท่านี้ ยถา มีครุวนาฉันใด
พระนิพพานประกอบไปด้วยวรรณะ คือ อนันตคุณประการ 1 ประกอบด้วยรสคืออมตะประการ
1 ประกอบด้วยกลิ่นคือศีลประการ 1 สิริเป็น 3 เหมือนคุณแห่งสัปปิข้นนั้น
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าคุณแห่งยอดคีรีมี 5 ประการนั้นฉันใด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อัน
ว่าคุณยอดคีรี 5 ประการนั้นหรือ คือยอดคีรีนั้นสูงประการ 1 คือยอดคีรีนั้นมิได้รู้หวั่นไหว
ประการ 1 คือ ยอดคีรีนั้นไม่มีใครจะขึ้นได้ประการ 1 คือยอดคีรีนั้นหาพืชจะงอกมิได้รู้หวั่นไหว
อนุนยปฏิฆวิปฺปยุตฺตํ คือยอดคีรีนั้นปราศจากความรักความชังประการ 1 ยอดคีรีมีคุณ 5
ประการฉะนี้ ยถา มีครุวนาฉันใด พระนิพพานนั้นไซร้ก็มีคุณ 5 ประการเหมือนกัน คือสูงประการ
1 มิได้หวั่นไหวประการ 1 บุคคลจะได้โดยยากประการ 1 กิเลสทั้งหลายงอกขึ้นมิได้ประกอบ 1
ปราศจากความรักและความชังประการ 1 สิริเป็นคุณ 5 ประการ เปรียบดุจจอมคีรีนั้น บพิตร
ผู้ทรงธรรมิกราชจงทราบในคุณพระนิพพานก็มี ในกาลบัดนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า สาธุ ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับคำไว้ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาไพเราะนักหนา
นิพพานปัญหา คำรบ 5 จบเพียงนี้

นิพพานสัจฉิกรณปัญหา ที่ 6


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้าเจรจาไว้กับโยมว่า พระนิพพานนั้น น อดีตํ ใช่
อดีตล่วงไป น อนาคตํ ใช่อนาคตจะมาเบื้องหน้า น ปจฺจุปฺปนฺนํ ใช่ปัจจุบัน น อุปฺปทานียํ ใช่สิ่ง
อันใคร ๆ จะให้เกิดขึ้นได้ โย โกจิ ปุคฺคโล อันว่าบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง อิธ สาสเน ในพระศาสนานี้
แม้ว่าปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน โส ปุคคฺโล อันว่าบุคคลที่
ปฏิบัติกระทำให้แจ้งซึ่งทางพระนิพพานนั้น ได้ชื่อว่ากระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อันยังมิได้
บังเกิด หรือได้ชื่อว่ายังพระนิพพานให้บังเกิดแล้ว จึงกระทำให้แจ้ง
พระนาคเสนจึงเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร บุคคลที่
ปฏิบัติเป็นสัมมาปฏิบัติกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้น ทำให้แจ้งพระนิพพานที่เกิดแล้วก็ได้ที่ยัง
มิได้บังเกิดก็ได้ หรือจะว่าให้พระนิพพานบังเกิดขึ้นแล้ว จึงกระทำให้แจ้งก็ได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชา ที่พระผู้เป็นเจ้าว่านี้ ยังเคลือบแคลงกำบังอยู่ โยมนี้อุตส่าห์ถามเพื่อจะให้รู้
นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาให้เข้าใจตามที่ได้ศึกษามา ด้วยชนทั้งหลายนี้ประกอบไปด้วยวิมัติ
สงสัยใหลหลง จงวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร เอสา-
นิพฺพานธาตุ
อันว่านิพพานธาตุนี้มีอยู่ สุขา ปณีตา มีสุขประณีตและละเอียดยิ่งนัก สมฺมา-
ปฏิปนฺโน
อันว่าบุคคลปฏิบัติดี สงฺขาเร สมฺมสนฺโต เมื่อพิจารณาซึ่งสังขารธรรม ชินานุ-
สิฏฺฐิยา
ตามคำสมเด็จพระชินสีห์สั่งสอนมา ปญฺญาย ก็จะกระทำให้แจ้งได้ด้วยปัญญา เปรียบ
อุปมาดุจศิษย์ที่เรียนวิชาในสำนักอาจารย์เชื่อถือตามที่อาจารย์สั่งสอนมา วิชฺชํ ปญฺญาย ก็
กระทำวิชชาให้แจ้งได้ด้วยปัญหา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารความเปรียบ
ประการนี้ ยถา มีครุวนาฉันใดก็ดี พระโยคาวจรบุคคลที่ปฏิบัติตามกระแสพระพุทธฎีกาเป็น
สัมมาปฏิบัติ สำเร็จธรรมวิเศษแล้ว ก็กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานธาตุนั้น เอวเมว ก็มีอุปไมย
เหมือนศิษย์ที่เชื่อถือตามที่อาจารย์สั่งสอนมาแล้ว กระทำวิชชาให้แจ้งด้วยปัญญานั้น
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการถามว่า ก็พระนิพพานนั้น จะพึง
เห็นได้อย่างไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ พระนิพพานนั้นเป็น